• ลิสแบรนด์กรม




วันที่ 29 พฤษภาคม 2563
นายสุวิช น้อยอิ่ม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่จากกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และประเมินความพร้อมในการทำอาชีพเกษตร ของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ "นำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ปี 2563" จำนวน 2 ราย 1.นายดลรวี ภัทรกุลพิมล อาศัยอยู่ในเขตหนองจอก กทม. มีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์รับงานอิสระ โดยทำควบคู่ไปกับอาชีพการเกษตร ปัจจุบันเป็นเจ้าของฟาร์มแพะนม ในนาม"ดลรวีฟาร์ม" ผลิตนมแพะไร้กลิ่น สดแท้ 100% ออกจำหน่ายให้กับร้านอาหารของโรงแรมในเขต กทม. และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นอาสาให้กับปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร ถ่ายทอดความรู้ด้านการเลี้ยงแพะนมให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ คุณดลรวี เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอิสระทางด้านความคิด และมีความเชี่ยวชาญในการทำการตลาดออนไลน์ โดยได้สร้างเพจ Donrewee Farm ขึ้นบนเฟสบุ๊ค และ สร้างเวปไซด์ www.donraweefarm.com เป็นช่องทางสื่อสารไปยังลูกค้าพร้อมกับการอัตเดทความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะนม ให้ผู้ที่ติดตามได้รับทราบอยู่ตลอดเวลา และเมื่อถามว่าทำมั้ยถึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการลูกหลาน ฯ คุณดลรวีให้คำตอบว่า ตนมีประสบการณ์เลี้ยงแพะนมมาประมาณ 15 ปี มองว่าตลาดยังมีความต้องการนมแพะอยู่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศเอง หรือต่างประเทศก็ตาม แต่ปัจจุบันยังมีผู้ผลิตน้อยราย และผลผลิตที่ออกมายังขาดคุณภาพอยู่ เลยมองว่าความรู้และประสบการณ์ของตนอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการท่านอื่น และอาจสร้างเครือข่ายผู้ผลิตนมแพะจากโครงการนี้ได้ พร้อมทั้งคาดหวังว่าจะได้ความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และช่องทางการจำหน่าย จากหน่วยงานรัฐเพิ่มเติม และ 2.นายอภิชาติ ผางจันทร์ผา อาศัยอยู่ในเขตคลองสามวา กทม. ทำอาชีพการเกษตร ด้านปศุสัตว์ เลี้ยงแพะนม ผลิตน้ำนมออกจำหน่าย โดยยึดเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ปัจจุบันได้จำหน่ายน้ำนมทางช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ควบคู่กันไป โดยทำการตลาดไปยังผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม ส่งให้ร้านอาหาร โรงแรม และลูกค้าที่ซื้อนมแพะ ไปให้สัตว์เลี้ยงอย่างหมาและแมวดื่ม คุณอภิชาตเน้นการทำแบบพอเพียง มองว่าถ้าขยายกิจการจะมีปัญหาเรื่องแรงงาน และอาจจะควบคุมคุณภาพของน้ำนมแพะลำบาก ซึ่งปัจจุบันตนก็มีฐานลูกค้ารองรับ สำหรับผลผลิตน้ำนมแพะที่ออกมาอยู่แล้ว แต่ช่วงนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ผู้บริโภคหยุดการสั่งซื้อไปหลายราย ทำให้น้ำนมแพะเหลืออยู่ในสต๊อคค่อนข้างเยอะ แต่โดยส่วนตัวมองว่าถ้าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติผลผลิตก็คงกลับมาระบายได้ดีแบบเดิม และสาเหตุที่สมัครเข้าร่วมโครงการมา ก็เพราะต้องการให้หน่วยงานรัฐเข้ามาเพิ่มพูนทักษะด้านการเกษตร นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มาช่วยในกระบวนการผลิต รวมถึงการเข้าถึงเงินทุน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤต แบบไม่ทันได้เตรียมตัวอย่างปัจจุบัน
 



ผลสำเร็จของ
งานส่งเสริมสหกรณ์
ด้านกองทุนพัฒนา
สหกรณ์
การสร้าง
ความเข้มแข็ง
ของสหกรณ์

ตลาดนำ
การผลิต
เครือข่าย
สหกรณ์

เกษตร
แปลงใหญ่

 
อุปกรณ์
การตลาดของ
สหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกร
ซุเปอร์มาร์เก็ต
สหกรณ์